เมนู

อรรถกถาสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ 13



พึงทราบวินิจฉัยในสัทธรรมปฏิรูปสูตรที่ 13 ดังต่อไปนี้.
บทว่า อญฺญาย สณฺฐหึสุ ภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผล. บทว่า
สพฺธมฺมปฏิรูปกํ ได้แก่ สัทธรรมปฏิรูป 2 คือ สัทธรรมปฏิรูปคือ
อธิคม 1 สัทธรรมปฏิรูปคือปริยัติ 1. ในสัทธรรมปฏิรูปกะนั้น
ฐานะ 10 เหล่านี้คือ จัดย่อมหวั่นไหว ด้วยฐานะ.
เหล่าใด คือหวั่นไหวในโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ
สุข และหวั่นไหวในอธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ
อุเบกขาอาวัชชนะ อุเบกขานิกันติ ปัญญาอันผู้ใด
อบรมแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ฉลาดในความฟุ้งซ่านใน
ธรรม จะไม่ถึงความลุ่มหลง ดังนี้.


นี้ชื่อว่าอธิคม คือสัทธรรมปฏิรูปกะ อันเป็นอุปกิเลสแห่งวิปัสสนาญาณ.
ส่วนคำมิใช่พระพุทธพจน์มีคุฬหวินัย คุฬหเวสสันดร คุฬหมโหลถ
วัณณปิฎก อังคุลิมาลปิฎก พระรัฐบาลคัชชิตะ ความกระหึ่มของ
อาฬวกคัชชิตะ เวทัลลปิฎกเป็นต้น นอกจากกถาวัตถุ 4 เหล่านี้ คือ
ธาตุกถา อารัมมณกถา อสุภกถา ญาณวัตถุกถา วิชชากรัณฑกะ ซึ่งยัง
ไม่ยกขึ้นสู่สังคายนาทั้ง 3 ครั้ง ชื่อว่า สัทธรรมปฏิรูปคือปริยัติ. บทว่า
ชาตรูปปฏิรูปกํ ความว่า ทองคำทำด้วยทองเหลืองอันนายช่างทอง
เจียระไนออกเป็นเครื่องประดับ. ก็ในเวลามีมหรสพ คนทั้งหลายไปร้านค้า
ด้วยคิดว่า เราจักรับเครื่องอาภรณ์ ดังนี้. ครั้งนั้น พ่อค้าพูดกับพวก
เขาอย่างนี้ว่า ถ้าท่านต้องการอาภรณ์เชิญรับอาภรณ์เหล่านี้. เพราะ

อาภรณ์เหล่านี้หนา สีงาม ราคาก็ถูกด้วย. คนเหล่านั้น ฟังพ่อค้า
เหล่านั้น รับเอาอาภรณ์เหล่านั้นไปด้วยคิดว่า พ่อค้าเหล่านี้บอกเหตุว่า
ท่านใช้อาภรณ์เหล่านี้เล่นนักกษัตรได้ งามก็งาม ทั้งราคาก็ถูก ดังนี้.
ทองคำธรรมชาติ เขาไม่ขาย ฝั่งเก็บเอาไว้. เมื่อทองเทียมเกิดขึ้น
ทองคำธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่าหายไปอย่างนี้.
บทว่า อถ สทฺะมฺมสฺส อนฺตรธานํ โหติ ได้แก่ สัทธรรม
แม้ 3 อย่างคือ อธิคมสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม ปริยัติสัทธรรม
ย่อมอันตรธาน. ก็ครั้งปฐมโพธิกาล พวกภิกษุได้เป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทา.
ครั้นเมื่อกาลล่วงไป ถึงปฏิสัมภิทาไม่ได้ แต่ก็ได้อภิญญา 6 ต่อมาเมื่อ
ถึงอภิญญา 6 ไม่ได้ ก็ถึงวิชชา 3. เมื่อล่วงมาบัดนี้ เมื่อถึงวิชชา 3
ไม่ได้ จักถึงซึ่งเพียงความสิ้นไปแห่งอาสวะ เมื่อถึงแม้ความสิ้นอาสวะ
ไม่ได้ ก็จักบรรลุอนาคามิผล เมื่อบรรลุแม้อนาคามิผลนั้นไม่ได้ ก็จัก
บรรลุสกทาคามิผล เมื่อแม้บรรลุสกทาคามิผลนั้นไม่ได้ ก็จักบรรลุแม้
โสดาปัตติผล. เมื่อเวลาผ่านไป จักบรรลุแม้โสดาปัตติผลก็ไม่ได้. ครั้งนั้น
ในกาลใด วิปัสสนาจักเริ่มเศร้าหมองด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ ในกาลนั้น
อธิคมสัทธรรมของพวกภิกษุเหล่านั้น จักชื่อว่าเสื่อมหายไป.
ครั้งปฐมโพธิกาล พวกภิกษุยังการปฏิบัติอันสมควรแก่ปฏิสัมภิทา 4
ให้บริบูรณ์ เมื่อกาลล่วงไป เมื่อปฏิบัติข้อนั้นไม่ได้ ก็ปฏิบัติอันสมควร
แก่อภิญญา 6 ได้บริบูรณ์ เมื่อปฏิบัติข้อนั้นแม้ไม่ได้ก็ปฏิบัติอันสมควร
แก่วิชชา 3 ได้บริบูรณ์ เมื่อปฏิบัติข้อนั้นไม่ได้ก็ปฏิบัติอันสมควรแก่พระ
อรหัตผลได้บริบูรณ์ เมื่อกาลผ่านไป เมื่อปฏิบัติอันสมควรแก่พระอรหัต

ไม่ได้บริบูรณ์ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่พระอนาคามิผลได้บริบูรณ์ ปฏิบัติ
แม้ข้อนั้นไม่ได้ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่พระสกทาคามิผลได้บริบูรณ์
เมื่อปฏิบัติแม้ข้อนั้นไม่ได้ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่โสดาปัตติผลได้
บริบูรณ์. ส่วนในกาลใด เมื่อปฏิบัติอันสมควรแม้แก่พระโสดาปัตติผล
ไม่ได้บริบูรณ์ ก็จักตั้งอยู่เพียงศีลอันบริสุทธิ์. ในกาลนั้น ปฏิบัติสัทธรรม
จักชื่อว่าเสื่อมหายไป.
จะกล่าวว่า ศาสนาไม่อันตรธานตลอดเวลาที่พระไตรปิฎกพุทธพจน์
ยังเป็นไปอยู่ ดังนี้ก็ควร. อีกอย่างหนึ่ง 3 ปิฎกยังดำรงอยู่ เมื่ออภิธรรม
ปิฎกเสื่อมหายไป ปิฎก 2 นอกนี้ก็ยังเป็นไปอยู่ ไม่ควรกล่าวว่า ศาสนา
อันตรธานแล้วดังนี้. เมื่อปิฎก 2 เสื่อมหายไป ก็ยังดำรงอยู่เพียงวินัยปิฎก
แม้ในวินัยปิฎกนั้นเมื่อขันธกบริวารเสื่อมหายไป ก็ดำรงอยู่เพียงอุภโตวิภังค์
เมื่อมหาวินัยเสื่อมหายไป เมื่อปาติโมกข์สองยังเป็นไปอยู่ ศาสนาอัตรธาน
ก็หามิได้แล. แต่เมื่อใดปาติโมกข์สองจักเสื่อมหายไป เมื่อนั้นปริยัติ-
สัทธรรมจักอันตรธาน. เมื่อปริยัติสัทธรรมนั้นเสื่อมหายไป ศาสนาชื่อว่า
อันตรธานแล้ว. ด้วยว่าเมื่อปริยัติเสื่อมหายไป การปฏิบัติก็เสื่อมหายไป
เมื่อการปฏิบัติเสื่อมหายไป อธิคมก็เสื่อมหายไป. ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า ปริยัตินี้เป็นปัจจัยแก่การปฏิบัติ การปฏิบัติเป็นปัจจัยแก่อธิคม.
แต่เมื่อว่าโดยการปฏิบัติกำหนดปริยัติเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ในสมัยกัสสปสัมมาสัมพุทธะ อนาจาร1ภิกษุชื่อกบิล จับ
พัดนั่งบนอาสนะด้วยคิดว่า เราจักสวดปาติโมกข์ดังนี้ จึงถามว่า ในที่นี้ผู้
สวดปาติโมกข์ได้มีอยู่หรือ. ครั้งนั้น ภิกษุแม้เหล่าใดสวดปาฏิโมกข์

1. ม. อนาราธกภิกฺขุ = ภิกษุผู้มิได้รับอาราธนา.

ได้ก็จริง ถึงกระนั้นภิกษุเหล่านั้นก็ไม่พูดว่า พวกเราสวดได้ แต่พูดว่า
พวกเราสวดไม่ได้ ดังนี้ เพราะกลัวแก่ภิกษุนั้น เธอวางพัดลุกจาก
อาสนะไปแล้ว. ถามว่า ในกาลนั้น ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธะ
เสื่อมแล้วมิใช่หรือ. ตอบว่า เสื่อมแม้ก็จริง ถึงกระนั้นก็กำหนดปริยัติ
โดยส่วนเดียว. เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีขอบมั่นคง ไม่พึงกล่าวว่า
น้ำจักไม่ขังอยู่ ดังนี้ เมื่อมีน้ำ ไม่พึงกล่าวว่า ดอกไม้ มีดอกปทุมเป็นต้น
จักไม่บาน ดังนี้ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อมีพระไตรปิฎกคือพุทธพจน์
เป็นเช่นขอบอันมั่นคงของสระน้ำใหญ่ ไม่พึงกล่าวว่า ไม่มี กุลบุตรยัง
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ได้ เป็นเช่นน้ำในสระน้ำใหญ่ ดังนี้. แต่กำหนดถึง
ปริยัติ โดยส่วนเดียวอย่างนี้ว่า เมื่อกุลบุตรเหล่านั้น มีอยู่ ไม่พึงกล่าวว่า
พระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น ไม่มี เหมือนดอกไม้มีดอกปทุม
เป็นต้น ในสระน้ำใหญ่ ไม่มีฉะนั้น.
บทว่า ปฐวีธาตุ ได้แก่ มหาปฐพีหนาได้สองแสนสี่หมื่นนหุต.
บทว่า อาโปธาตุ ได้แก่ น้ำอันยังกัปให้พินาศ เริ่มต้นแต่แผ่นดินท่วมสูง
ขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นสุภกิณหา. บทว่า เตโชธาตุ ได้แก่ ไฟอัน
ยังกัปให้พินาศ เริ่มแต่แผ่นดินไหม้ขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสรา.
บทว่า วาโยธาตุ ได้แก่ ลมอันยังกัปให้พินาศ เริ่มต้นแต่แผ่นดินพัดขึ้นไป
จนถึงพรหมโลกชั้นเวหัปผลา ในธรรมมีปฐวีธาตุเป็นต้นนั้นแม้ธรรม
อย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะยังสัตถุศาสน์ให้อันตรธานได้ เพราะฉะนั้น
พระองค์จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อิเธว เต อุปปชฺชนฺติ โมฆบุรุษ
เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในศาสนาของเรานี้นี่แหละ เหมือนสนิมเกิดแต่เหล็ก
กัดกร่อนเหล็กฉะนั้น. บทว่า โมฆปุริสา คือ บุรุษเปล่า.

ในบทว่า อาทิเกเนว โอปิลาวติ ได้แก่ ด้วยต้นหน คือด้วย
การถือ ได้แก่จับ. บทว่า โอปิลาวติ คืออัปปาง. มีอธิบายว่า เรือ
อยู่ในน้ำ บรรทุกสิ่งของย่อมอัปปาง ฉันใด พระสัทธรรม ย่อมไม่
อันตรธานไป เพราะเต็มด้วยปริยัติเป็นต้น. ฉันนั้น. เพราะเมื่อปริยัติ
เสื่อม ปฏิบัติก็เสื่อม. เมื่อปฏิบัติเสื่อม อธิคมก็เสื่อม เมื่อปฏิบัติยัง
บริบูรณ์อยู่ บุคคลผู้ทรงปริยัติก็ยังปฏิบัติให้บริบูรณ์ได้. ผู้ปฏิบัติให้บริบูรณ์
ได้ ก็ยังอธิคม (ปฏิเวธ) ให้บริบูรณ์ได้. ท่านแสดงว่า เมื่อปริยัติเป็นต้น
เจริญอยู่ ศาสนาของเรายังเจริญ เหมือนดวงจันทร์ส่องแสงอยู่ฉะนั้น.
บัดนี้ เมื่อทรงแสดงธรรมเป็นเหตุอันตรธาน และความตั้งมั่น
แห่งพระสัทธรรม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ปญฺจ โข ดังนี้. ในบท
เหล่านั้น บทว่า โอกฺกมนียา ความว่า ความก้าวลง คือเหตุฝ่ายต่ำ. บทว่า
อคารวา ในบทว่า สตฺถริ อคารวา เป็นต้น ได้แก่ เว้นความเคารพ.
บทว่า อปฺปติสฺสา ได้แก่ ความไม่ยำเกรง คือไม่พระพฤติถ่อมตน. ใน
ความไม่เคารพนั้น ภิกษุใดขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ กั้นร่ม สวมรองเท้า
แลดูแต่ที่อื่น เดินคุยกันไป. ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระศาสดา.
ภิกษุใด เมื่อเขาประกาศเวลาฟังธรรม อันภิกษุหนุ่มและสามเณรนั่ง
ห้อมล้อม หรือกำลังทำนวกรรมเป็นต้นอย่างอื่น นั่งหลับในโรงฟังธรรม
หรือเป็นผู้ฟุ้งซ่าน นั่งคุยเรื่องอื่น ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพใน
พระธรรม. ส่วนภิกษุใด ไปสู่ที่บำรุงของพระเถระ นั่งไม่ไหว้ เอามือรัดเข่า
ทำการบิดผ้า ก็หรือคะนองมือและเท้าอย่างอื่น มิได้รับการกล่าวเชื้อเชิญใน
สำนักของพระเถระผู้แก่ ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระสงฆ์.
ส่วนผู้ไม่ยังสิกขา 3 ให้บริบูรณ์ เป็นผู้ชื่อว่าไม่มีความเคารพในสิกขา.

ผู้ไม่ยังสมาบัติ 8 ให้เกิด หรือไม่ทำความเพียร เพื่อความเกิดสมาบัติ
เหล่านั้น ชื่อว่าไม่มีความเคารพในสมาธิ. ธรรมฝ่ายขาว พึงทราบ
โดยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้วแล แล้วประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ 13
จบอรรถกถากัสสปสังยุตที่ 4

5. ลาภสักการสังยุต



ปฐมวรรคที่ 1



1. สุทธกสูตร



ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม



[536] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.
[537] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ลาภสักการะ และความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็น
อันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า
เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละ
ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและ
ความสรรเสริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบสุทธกสูตรที่ 1